top of page
Search

ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Secure Socket Layer (SSL)

  • โปรโตคอล SSL
  • Mar 24, 2016
  • 1 min read

โพรโตคอลระดับแอพพลิเคชันคือ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นการสื่อสารผ่านเว็บให้ปลอดภัย พัฒนาในช่วงต้นของยุคการค้าอิเล็กทรอนิคส์ กำลังได้รับความนิยมในโลกอินเตอร์เน็ต การเข้ารหัสของ SSL มีได้ 2 แบบ คือ การเข้ารหัสแบบ 40 bits กับการเข้ารหัสแบบ 128 bits

หลักการของการทำงานของ SSL

คือ จะมีการเข้ารหัสข้อมูลที่ทางคฃไคลเอนต์โดยเว็บบราวเซอร์จะเป็นตัวเข้ารหัสให้ เว็บบราวเซอร์จะเอา Public key จากเซิร์ฟเวอร์มาเข้ารหัสกับ Master key ที่บราวเซอร์สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ใช้คีย์พวกนี้เข้ารหัสข้อมูลที่จะส่งไปให้เซิร์ฟเวอร์ ข้อมูลที่เข้ารหัสเรียบร้อยแล้วจะส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์มีหน้าที่ในการถอดรหัสนั้นกลับมาเป็นข้อมูลปกติ เช่น การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตของธนาคารกสิกร บัตร VISA และ Master Card ของทุกธนาคาร โดยผู้ซื้อไม่ต้องมีการแจ้งขอใช้บริการกับธนาคารล่วงหน้า โดยที่ผู้ให้บริการจะมีวงจรที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าถึง Server ของธนาคารได้ก็ต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร ก่อนแล้วจึงมีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ 40 bits โพรโตคอล SSL อนุญาตให้สามารถเลือกวิธีการในการเข้ารหัส วิธีสร้างไดเจสต์ [*1] และลายเซ็นดิจิตอล ได้อย่างอิสระก่อนการสื่อสารจะเริ่มต้นขึ้น ตามความต้องการของทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์และบราวเซอร์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน เปิดโอกาสให้ทดลองใช้วิธีการในการเข้ารหัสวิธีใหม่ รวมถึงลดปัญหาการส่งออกวิธีการเข้ารหัสไปประเทศที่ไม่อนุญาต

กระบวนการในการเริ่มต้นการสื่อสารผ่านชั้น SSL

ขั้นตอน 1 : ประกาศชุดวิธีการเข้ารหัส ไดเจสต์ และลายเซ็นดิจิตอลที่สนับสนุนของทั้งไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อความเริ่มต้นการสื่อสาร (Hello message) ซึ่งประกอบไปด้วยเวอร์ชันของโพรโตคอลที่ใช้ วิธีการเข้ารหัสที่เว็บเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์สนับสนุน หมายเลขระบุการสื่อสาร (Session identifier) รวมถึงวิธีการบีบอัดข้อมูลในการสื่อสารที่สนับสนุน หมายเลขระบุการสื่อสารที่เกิดขึ้น ใช้สำหรับตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์ ถ้ามีการเชื่อมต่อก่อนหน้านี้เกิดขึ้น แสดงว่าได้มีการตกลงวิธีการสื่อสารแล้ว สามารถเริ่มต้นส่งข้อมูลได้ทันที เป็นการลดเวลาติดต่อสื่อสารลง

ขั้นตอน 2 : การพิสูจน์ตัวตนของเซิร์ฟเวอร์ต่อไคลเอ็นต์ ถัดมาเว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการส่ง Certificate หรือใบยืนยันความมีตัวตนของเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอ็นต์จะทำการตรวจสอบ Certificate กับผู้ให้บริการ Certificate Authority ที่ได้ตั้งค่าไว้ เพื่อยืนยันความถูกต้องของ Certificate ของเซิร์ฟเวอร์

ขั้นตอน 3 : การพิสูจน์ตัวตนของไคลเอ็นต์ต่อเซิร์ฟเวอร์ ถ้าจำเป็น เซิร์ฟเวอร์สามารถร้องขอ Certificate จากไคลเอ็นต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของ Client ด้วยก็ได้ ใช้ในกรณีที่มีการจำกัดการใช้งานเฉพาะไคลเอ็นต์ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่ง SSL สนับสนุนการตรวจสอบได้จากทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานในขณะติดต่อสื่อสารที่เกิดขึ้นนั้น

ขั้นตอน 4 : ไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์ตกลงชุดวิธีการเข้ารหัส การสร้างไดเจสต์ และการใช้ลายเซ็นดิจิตอล ขั้นตอนการตรวจสอบ Certificate ที่เซิร์ฟเวอร์ร้องขอจากไคลเอ็นต์จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าบนเซิร์ฟเวอร์ หลังจากขั้นตอนการตรวจสอบเสร็จสิ้น เซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์จะตกลงการใช้งานวิธีการเข้ารหัสระหว่างกันโดยใช้ค่าที่ได้จากการประกาศในขั้นตอนแรก

วิธีการแลกเปลี่ยนกุญแจในการเข้ารหัส

คือการกำหนดกลไกการแลกเปลี่ยนกุญแจที่ใช้ในการเข้ารหัสระหว่างการสื่อสาร โดยทั้งไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์จะใช้กุญแจนี้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล

SSL เวอร์ชัน 2.0 จะสนับสนุนวิธีการแลกเปลี่ยนกุญแจแบบ RSA

SSL เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไปจะสนับสนุนวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติมเช่นการใช้ RSA ร่วมกับการใช้ Certificate หรือ Diffie-Hellman เป็นต้น


 
 
 

댓글


 Recent   
 Posts  
   About  
  

ชื่อ นางสาสาวสุดาภา พรหมอุบล

รหัส 5640410569

ชั้นปีที่ 3

สาขา ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Black Google+ Icon

© 2023 by Ad Men. Proudly created with Wix.com

     Contact
 

 หากท่านใดมีปัญหาข้อสงสัยสามารถแจ้งชื่อ

พร้อมข้อความข้างล่างได้เลย

Success! Message received.

bottom of page